กัญชารักษามะเร็งได้หรือไม่

ในปัจจุบันมีการอ้างอิงถึงการใช้กัญชาในการรักษามะเร็งอย่างแพร่หลาย แต่หากเรามองลงไปให้ลึกถึงหลักฐานทางวิชาการที่กลุ่มผู้สนับสนุนกัญชามาใช้อ้างอิง เราจะพบความไม่น่าเชื่อถือดังนี้

  1. การทดลองยังอยู่ในขั้นทดลองกับเซล์หรือสัตว์ไม่ใช่ในคน มีผลรายงานในคนเพียงหนึ่งการวิจัยเท่านั้น และเป็นการวิจัยในคน 9 คนเท่านั้น เป็นการทดลองให้สารสกัดจากกัญชาแก่คนไข้มะเร็งสมอง แต่สุดท้ายคนไข้ 9 คนนี้ก็เสียชีวิต ระยะเวลาเฉลี่ยที่เสียชีวิตคือหลังได้รับสารสกัดกัญชา 24 สัปดาห์
  2. รายงานวิจัย ไม่มีรายงานการทดลองสนับสนุนผลการทดลองในเวลาต่อมา ตรงนี้สำคัญมากเพราะหากไม่มีใครในโลกสามารถทำการทดลองซ้ำได้ เราจะเชื่อถือผลการทดลองนั้นได้อย่างไร
  3. การรายงานผลบอกแต่ด้านดีของกัญชาแต่ไม่รายงานถึงงานวิจัยอื่นที่แสดงผลด้านลบของกัญชาเช่น ก่อให้เกิดการอักเสบในทางเดินหายใจ ทำให้การทำงานของเซล์เยื่อบุทางเดินหายใจทำงานได้แย่ลง พบอาการไอและมีเสมหะเรื้อรัง สารเคมีที่ได้จากการสูบกัญชาเป็นกลุ่มเดียวกับบุหรี่ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปอด นอกจากนี้ยังส่งผลเสียต่อกระบวนการคิดวิเคราะห์การตัดสินใจของสมอง จนเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งในการเกิดรถชน

สรุปคือมีการทดลองใช้สารสกัดจากกัญชาในการทดลองต้านมะเร็งจริง แต่ยังอยู่ในขั้นของเซลล์และสัตว์ทดลองเท่านั้น ยังไม่มีการทดลองว่าได้ผลเช่นไรในคน การทดลองที่ได้ผลดีในเซลล์และสัตว์ไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลดีเหมือนในคน เราควรรอให้มีหลักฐานและผลการวิจัยกับคนเสียก่อน ซึ่ง ณ ปี พ.ศ. 2557 ยังพูดไม่ได้ว่ากัญชารักษามะเร็งตามคำกล่าวอ้าง

เอกสารอ้างอิง

  1. Joshi M, Joshi A Fau – Bartter T, Bartter T. Marijuana and lung diseases. 2014.
  2. Guzman M, Duarte Mj Fau – Blazquez C, Blazquez C Fau – Ravina J, et al. A pilot clinical study of Delta9-tetrahydrocannabinol in patients with recurrent glioblastoma multiforme. 2006.
  3. Callaghan RC, Allebeck P Fau – Sidorchuk A, Sidorchuk A. Marijuana use and risk of lung cancer: a 40-year cohort study. 2013.
  4. van der Stelt M, Veldhuis WB, Bär PR, Veldink GA, Vliegenthart JFG, Nicolay K. Neuroprotection by Δ9-Tetrahydrocannabinol, the Main Active Compound in Marijuana, against Ouabain-Induced In Vivo Excitotoxicity. The Journal of Neuroscience 2001;21:6475-9.
  5. Massi P, Vaccani A, Ceruti S, Colombo A, Abbracchio MP, Parolaro D. Antitumor Effects of Cannabidiol, a Nonpsychoactive Cannabinoid, on Human Glioma Cell Lines. Journal of Pharmacology and Experimental Therapeutics 2004;308:838-45.
  6. Torres S, Lorente M, Rodríguez-Fornés F, et al. A Combined Preclinical Therapy of Cannabinoids and Temozolomide against Glioma. Molecular Cancer Therapeutics 2011;10:90-103.
  7. McAllister SD, Murase R Fau – Christian RT, Christian Rt Fau – Lau D, et al. Pathways mediating the effects of cannabidiol on the reduction of breast cancer cell proliferation, invasion, and metastasis. 2011.
  8. Ligresti A, Schiano Moriello A, Starowicz K, et al. Anti-tumor activity of plant cannabinoids with emphasis on the effect of cannabidiol on human breast carcinoma. Journal of Pharmacology and Experimental Therapeutics 2006.
  9. Caffarel M, Andradas C, Mira E, et al. Cannabinoids reduce ErbB2-driven breast cancer progression through Akt inhibition. Molecular Cancer 2010;9:196.
  10. De Petrocellis L, Melck D, Palmisano A, et al. The endogenous cannabinoid anandamide inhibits human breast cancer cell proliferation. Proceedings of the National Academy of Sciences 1998;95:8375-80.
  11. Ramer R, Bublitz K, Freimuth N, et al. Cannabidiol inhibits lung cancer cell invasion and metastasis via intercellular adhesion molecule-1. The FASEB Journal 2012;26:1535-48.
  12. Preet A, Qamri Z, Nasser MW, et al. Cannabinoid Receptors, CB1 and CB2, as Novel Targets for Inhibition of Non–Small Cell Lung Cancer Growth and Metastasis. Cancer Prevention Research 2011;4:65-75.
  13. Mimeault M, Pommery N, Wattez N, Bailly C, Hénichart J-P. Anti-proliferative and apoptotic effects of anandamide in human prostatic cancer cell lines: Implication of epidermal growth factor receptor down-regulation and ceramide production. The Prostate 2003;56:1-12.
Send this to a friend