ข้อคิดจาก Future Anti-Cancer Targets: Put the Cart Before the Horses

ได้มีโอกาสฟังเลคเชอร์จาก Professor Tak Wah Mak เรื่อง Future Anti-Cancer Targets:  Put the Cart Before the Horses ได้ทั้งความรู้และข้อคิดอยากจะบันทึกไว้ตามนี้

ความรู้ด้านการแพทย์พัฒนาไปเรื่อยๆ จากที่เมื่อก่อนหมอหลายร้อยปีที่แล้วให้ยาคนไข้แต่ละครั้งแทบจะไม่มีความรู้อะไรเลย จนมีคนเปรียบเปรยว่า หมอรู้จักยาที่จ่ายไปนิดหน่อย รู้จักโรคที่จะรักษาน้อยมาก และแทบไม่รู้จักคนไข้ที่เค้ารักษาอยู่เลย จนมาถึงยุคนึงที่คนเริ่มร้จักโรคมะเร็งกันแล้ว ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลคนนึงยังเคยประกาศว่ามะเร็งเกิดจากการที่เซลล์เปลี่ยนแปลงเมตาโบลิซึ่ม และไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือกรรมพันธุ์ (ซึ่งปัจจุบันพบว่าไวรัสเป็นสาเหตุของมะเร็ง เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปากมดลูกเป็นต้น และกรรมพันธุ์ก็เป็นส่วนสำคัญในการเกิดมะเร็ง)

ทีนี้เข้าชื่อเรื่อง จะมาเกวียนจะม้าอะไรกัน คือการที่ม้าจะลากเกวียนม้าต้องเคลื่อนก่อนเกวียนถึงจะเคลื่อนตาม เปรียบเหมือนมะเร็งที่ต้องมีอะไรกระตุ้นขับเคลื่อนให้เกิดมะเร็ง โดยในเลคเชอร์นี้ตัวม้าคือ oncogene และเกวียนคือผลที่ตามมาจาก oncogene ได้แก่ immune changes, metabolism และ aneuploidy

ถ้าเราอยากจะหยุดมะเร็งเราก็กำจัดม้าไปเลยซิ ปัญหาคือเราพยายามกันมาหลายสิบปีแล้วที่จะหยุด จะกำจัด oncogene แต่มันไม่สำเร็จ งั้นเรามาลองดูที่เกวียนมั้ยว่าเราทำอะไรได้หรือเปล่า แล้วโปรเฟสเซอร์ก็เริ่มร่ายยาวเกี่ยวกับงานที่ทำว่ามีอะไรบ้าง คร่าวๆคือมียีนอันนึงที่เกี่ยวกับ metabolism ของเซลล์มะเร็ง คือ IDH1 ถ้ายีนนี้ปกติเซล์จะสร้าง IDH โปรตีนขึ้นมา ทำหน้าที่ใน kreb cycle อะไรพวกนี้ จะได้ผลผลิตออกมาเป็น NADPH, ATP มาให้พลังงานกับเซลล์  รวมไปถึงเกี่ยวข้องกับการปรับแต่งโปรตีน cytosine ที่สำคัญมากๆกับขบวนการ metylation และโครงสร้างของ chromatin แต่ในเซล์มะเร็งมักพบ mutation ของยีน IDH1 การควบคุม metabolism, methylation และ chromatin structure พัง เซลล์ก็เพี้ยนๆและเกิดมะเร็งในที่สุด ตอนนี้ก็มีการผลิตยามาต้าน mutated IDH1 กันละแต่ยังอยู่ในขั้นทดลองอยู่

ส่วนเรื่องของ immune นั้นก็เริ่มมีการใช้ immunetherapy มาแล้ว เช่น Ipilimumab ที่ช่วยส่งเสริมให้ cytotoxic T cell ทำงานได้ดีขึ้น ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น

ส่วนสุดท้ายของเกวียน คือ aneuploidy ก็มีการทดลองใช้กลไกระงับ  TTK ที่เกี่ยวข้องกับ spindle assembly check point แล้วพบว่า aneuploidy เกิดลดลง

นอกจากนี้ยังมีประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับการใช้ antioxidant ในที่นี้คือ vitamin E ในการป้องกันมะเร็งด้วย คือมีสมมติฐานว่าถ้าให้วิตามินไปคนไข้มะเร็งจะดีขึ้น แต่ปรากฏว่าคนไข้กลุ่มที่ให้วิตามินอีดันตายเยอะจนต้องหยุดการศึกษา คำอธิบายสำหรับเรื่องนี้คร่าวๆคือ อนุมูลอิสระไม่ได้แย่เสมอไป ช่วงแรกของมะเร็งถ้ามีอนุมูลอิสระบ้าง มันจะไปช่วยฆ่าเซลล์ผิดปกตินะ แต่ตอนหลังๆพออนุมูลอิสระเริ่มเยอะเกินจนไปพัวพันอย่างอื่นจนเร่งการเกิดมะเร็งแล้ว การให้ antioxidant จะมีผลดีละ

ข้อคิดที่เราได้คือ

  • วิทยาการเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เราต้องอัพเดทตัวเองอยู่เสมอ แม้แต่คนได้รางวัลโนเบลยังเคยพูดอะไรผิดๆ การที่เราจะเชื่อหรือไม่เชื่ออะไรอย่ายึดว่าใครพูด เราควรจะยึดที่ข้อเท็จจริง ทำ review literature
  • บางครั้งสมมติฐานมองดูดีแต่ในความเป็นจริงร่างกายคนเราซับซ้อนกว่านั้น สมมติฐานเราอาจจะพังครืน
  • การรักษาโรคใดๆหากเรามีความรู้ความเข้าใจในโรคนั้น จะทำให้เรารักษาได้ดีขึ้น แม้ตอนนี้เราทำตาม best practice guideline แต่มองให้ดีรักษาครึ่งตายครึ่ง (เลขสมมติ) นี่คือดีที่สุดแล้วหรือ วงการเราถึงต้องมีการวิจัยการทดลองมารองรับตรงนี้ ยิ่งเรารู้มากขึ้นเรายิ่งหาทางมารักษาได้มากขึ้น อย่าไปยึดติดอยู่กับม้า ถ้าเรารู้เรื่องเกวียนเราก็ลองลุยดู
  • อะไรที่เราเรียนแล้วรู้สึกไม่เกี่ยวอะไรกับชีวิตในภายภาคหน้า ซักวันมันอาจจะมาเกี่ยวข้องกับเราโดยไม่รู้ตัวและมีความจำเป็นกับชีวิตก็ได้ อย่างเช่นเรื่อง cell cycle ทุกวันนี้เราแทบจะพูดถึงมันทุกวัน ดังนั้นตอนเรียนคิดอยู่กับปัจจุบัน ทำให้ดีที่สุด อย่ามัวแต่คิดเรียนไปจะได้ใช้อะไร
Send this to a friend